ศาสนาโซโรอัสเตอร์
ศาสนาโซโรอัสเตอร์เกิดในประเทศเปอร์เซีย หรือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 117 ปีก่อน พ.ศ.หรือ 660 ปีก่อน ค.ศ.โดยคิดตามสมัยของโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster) หรือ ซาราธุสตรา (Zarathustra) ผู้เป็นศาสดาของศาสนานี้ ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาทวิเทวนิยม เชื่อว่ามีเทพเจ้า 2 องค์ คือเทพเจ้าแห่งความดีมีนามว่า อหุระ มาซดะ (Ahura mazda) หรือออร์มุสด์ (Ormuzd) หรือสเปนตา เมนยุ (Spenta Mainyu) มีคุณลักษณะ 7 ประการ คือ สว่าง ใจดี ถูกต้อง ครอบครอง ศรัทธา เป็นอยู่ดี และ อมตภาพ มีแสงสว่างเป็นเครื่องหมาย ทรงสร้างแต่สิ่งดีงาม เช่น ความสวยงาม ความอุดมสมบูรณ์ ความสุข และความสมหวัง เป็นต้น กับอีกองค์หนึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่ว หรือพญามาร มีนามว่า อหริมัน (Ahriman) หรืออังครา เมนยุ (Angra Mainyu) มีความมืดเป็นเครื่องหมาย สร้างแต่สิ่งที่ชั่ว หรือไม่ดีทั้งหลาย เช่น ความอัปลักษณ์ ความอดอยาก ความทุกข์ และความผิดหวัง เป็นต้น เทพทั้ง 2 องค์ได้ต่อสู้กันตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงมีของคู่กันในโลก เช่น ดี-ชั่ว สูง-ต่ำ ดำ-ขาว มืด-สว่าง เป็นต้น โดยสิ่งที่ดีทั้งหลายมาจากอหุระ มาซดะ ส่วนสิ่งไม่ดีทั้งหลายก็มาจากอหริมัน ศาสนาโซโรอัสเตอร์นอกจากจะมีชื่อทวิเทวนิยมแล้ว ก็มีชื่ออื่นๆอีก เช่น ศาสนาปาร์ซี เพราะศาสนานี้เกิดในเปอร์เซีย หรือเรียกว่าศาสนาบูชาไฟ เพราะ ศาสนิกของศาสนานี้จะตามไฟตลอดเวลามิให้ดับ เป็นต้น ที่ว่าศาสนาบูชาไฟ มิได้หมายความว่าศาสนา โซโรอัสเตอร์เห็นว่าไฟศักดิ์สิทธิ์ เพียงแต่ใช้ไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งความสว่าง ความสะอาด ความรู้ และความดีเท่านั้น กล่าวคือมีไฟในที่ใดย่อมกำจัดความมืดในที่นั้น มีไฟเผาผลาญสิ่งต่างๆในที่ใด ย่อมทำลายสิ่งสกปรกให้หมดไป เหลืออยู่แต่ความสะอาดในที่นั้น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้เผยแพร่ในประเทศเปอร์เซียมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งศาสนาอิสลามได้เข้าครอบครองอาณาจักรในบริเวณนั้น ผู้นับถือศาสนาอื่นๆรวมทั้งศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้ถูกพวกอิสลามขับไล่ ในประเทศเปอร์เซียจึงไม่มีพวกศาสนานี้เหลืออยู่เลย เพราะต้องอพยพมาอาศัยในเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย
เทพเจ้าของศาสนาโซโรอัสเตอร์
ศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่าพระเจ้าอหุระ มาซดะแปลว่า พระเจ้าแห่งปัญญา เป็นผู้สูงสุดในสากลโลกเพียงพระองค์เดียวที่พึงเคารพบูชาเหนือสิ่งอื่น หรือเทพใดๆ พระองค์เป็นพลังแห่งแสงสว่าง แห่งชีวิต แห่งความสัตย์จริง และแห่งความดีงาม มีคู่แข่ง คือพญามารอหริมัน เป็นพระเจ้าฝ่ายชั่ว แต่สุดท้ายก็คือ ชัยชนะของคุณธรรมฝ่ายดีงามจะต้องมีเหนือความชั่วช้าในที่สุด
ศาสดาของศาสนาโซโรอัสเตอร์
โซโรอัสเตอร์เกิดในตระกูลสามัญชนในประเทศอิหร่านเมื่อประมาณ 117 ปีก่อน พ.ศ. โซโร- อัสเตอร์เป็นคนเผ่าสปิตามา เกิดในแคว้นอซาไบจาน (Azarbijan) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน ติดกับประเทศรัสเซีย บรรดาสาวกของโซโรอัสเตอร์ต่างพากันเชื่อว่าจะมีคนวิเศษผู้ยิ่งใหญ่มาโปรดชาวเปอร์เซียล่วงหน้าก่อนโซโรอัสเตอร์เกิดกว่า 3,000 ปี โดยพระเจ้าผู้เป็นมหาเทพพระนามว่า อหุระ มาซดะ ทรงส่งผู้นั้นให้มาเกิดในรูปของแสงสว่างเป็นอมตะเข้าสู่ครรภ์หญิงสาวคนหนึ่งผู้เป็นมารดาของโซโรอัสเตอร์ เมื่อโซโรอัสเตอร์อายุได้ 30 ปี ก็ได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปในหมู่ชาวไร่ชาวนาที่ยากจน โซโร- อัสเตอร์จึงคิดที่จะช่วยเหลือคนเหล่านั้นให้พ้นจากความลำบาก ขณะนั่งคิดอยู่นั้นก็รู้สึกตัวเสมือนหนึ่ง พระเจ้าอหุระ มาซดะตรัสเรียกให้มาเฝ้าอยู่ข้างหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงไต่ถามปัญหาต่างๆจนพอพระทัย แล้วทรงมอบให้ดำเนินงานในฐานะตัวแทนของพระองค์เพื่อช่วยเหลือความทุกข์ของคนทั้งหลาย คำสั่งของพระเจ้ามีว่า “ชายผู้นี้เราได้สร้างมาเพื่อเป็นตัวแทนของเรา ชายผู้นี้เท่านั้นที่เอาใจใส่ต่อการบอกกล่าวแนะนำของเรา” ตั้งแต่นั้นมาโซโรอัสเตอร์ก็มอบกายถวายชีวิตให้เป็นพลีแด่พระเจ้า ยึดถือหลักมีความคิดดี มีการกระทำดี และมีวาจาดี ตำหนิติเตียนความสกปรกโสมม การมัวเมา การคดโกง และการหลอกลวงทั้งสิ้น โซโรอัสเตอร์กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนอันนี้ ในบั้นปลายชีวิตเขาจะต้องประสบความเดือดร้อนลำเค็ญ หลังจากนั้น โซโรอัสเตอร์ก็มีโอกาสเข้าสู่ราชสำนักเปอร์เซีย ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์วิสตาสปา (Vistaspa) ได้เทศนาถวายกษัตริย์ และบุคคลในราชสำนัก คนทั้งหลายต่างก็พากันเปลี่ยนจากความนับถือเดิม คือการนับถือธรรมชาติที่ทรงอำนาจ มาเป็นนับถือพระเจ้าอหุระ มาซดะ และคำสอนของโซโรอัสเตอร์ ระยะการประกาศศาสนาของโซโรอัสเตอร์ในตอนหลัง คือตั้งแต่อายุ 57 ปี มีลักษณะรุนแรงไปข้างการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อแสวงหาราชอำนาจให้แก่กษัตริย์เปอร์เซียในดินแดนใกล้เคียง ปรากฏว่ากษัตริย์เปอร์เซียผู้อุปถัมภ์ศาสนาโซโรอัสเตอร์ต้องทำสงครามกับเผ่าตุเรเนียนอย่างหนัก ครั้งหนึ่งเปอร์เซียต้องใช้ทหารถึงแสนคนเข้าตีเผ่าตุเรเนียน และประเทศใกล้เคียงที่ปฏิเสธไม่ยอมรับนับถือศาสนาของโซโรอัสเตอร์ และได้ชัยชนะ โซโรอัสเตอร์สิ้นชีพเมื่ออายุ 80 ปี ถูกฆ่าพร้อมสาวกเป็นอันมาก ขณะทำพิธีในเทวสถานเพื่อขอพรชัยชนะแก่ประชาชนระหว่างสงครามที่พวกตุเรเนียนบุกโจมตีอาณาจักรเปอร์เซีย“อเวสตะ” เป็นชื่อคัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ แปลว่า “ความรู้” คล้ายกับความหมายของคำว่า “เวทะ” ของพราหมณ์ ภาษาของคัมภีร์ คือภาษาอเวสตะ เป็นภาษาใกล้เคียงกับภาษาสันสกฤต คัมภีร์อเวสตะแบ่งออกเป็น 5 หมวดใหญ่ดังต่อไปนี้
1.ยัสนะ แปลว่า “บูชา” เป็นหมวดที่เก่ากว่าเพื่อน และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด มีคาถากำกับอยู่ 17 คาถา กล่าวกันว่า โซโรอัสเตอร์เขียนขึ้นเอง
2.วิเปรัท เป็นบทอ้อนวอนต่อเทพทั้งปวง ใช้คู่กับยัสนะ ประกอบด้วยบทง่ายๆ 20 บท 3
3.เวนทิทัท แปลว่า “กฎที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมารร้าย” เป็นระเบียบวินัยเกี่ยวกับพิธีกรรมของพระ นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงเรื่องจักรวาล ประวัติศาสตร์ คำสอนเรื่องสวรรค์นรก สามส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญของคัมภีร์ 4.อเวสตะ และใช้สำหรับนักพรตแห่งศาสนานั้นโดยเฉพาะ
5.ยัษฏส บทสวดบูชา เป็นบทกวีสำหรับใช้สวดบูชาทูตสวรรค์ 21 องค์ และวีรบุรุษแห่งศาสนาโซโรอัสเตอร์ นักพรตได้นำมาใช้เป็นคัมภีร์แรกในพิธีกรรม เป็นคัมภีร์คู่มือของนักพรต
โขรท-อเวสตะ แปลว่า “อเวสตะน้อย” เป็นหนังสือคู่มือ สำหรับใช้สวดมนต์ของศาสนิกชนทั่วไป
2.วิเปรัท เป็นบทอ้อนวอนต่อเทพทั้งปวง ใช้คู่กับยัสนะ ประกอบด้วยบทง่ายๆ 20 บท 3
3.เวนทิทัท แปลว่า “กฎที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมารร้าย” เป็นระเบียบวินัยเกี่ยวกับพิธีกรรมของพระ นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงเรื่องจักรวาล ประวัติศาสตร์ คำสอนเรื่องสวรรค์นรก สามส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญของคัมภีร์ 4.อเวสตะ และใช้สำหรับนักพรตแห่งศาสนานั้นโดยเฉพาะ
5.ยัษฏส บทสวดบูชา เป็นบทกวีสำหรับใช้สวดบูชาทูตสวรรค์ 21 องค์ และวีรบุรุษแห่งศาสนาโซโรอัสเตอร์ นักพรตได้นำมาใช้เป็นคัมภีร์แรกในพิธีกรรม เป็นคัมภีร์คู่มือของนักพรต
โขรท-อเวสตะ แปลว่า “อเวสตะน้อย” เป็นหนังสือคู่มือ สำหรับใช้สวดมนต์ของศาสนิกชนทั่วไป
นิกายที่สำคัญของศาสนาโซโรอัสเตอร์มี 2 นิกาย คือ
1.นิกายษหันษหิส (Shahanshahis) นิกายนี้คงถือคัมภีร์ที่ว่าด้วยการที่พระเจ้าแจ้งเรื่องราวต่างๆลงมาทางศาสดาโซโรอัสเตอร์เป็นสำคัญ ซึ่งคัมภีร์ดังกล่าวเป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยต้นศตวรรษ ที่ 3 อันได้มีการแปลคัมภีร์ของศาสนานี้เป็นภาษาปาลวี ซึ่งใช้ในเปอร์เซียในสมัยนั้น ชื่อว่า คัมภีร์เมนอกิขรัท
2.นิกายกัทมิส (Kadmis) นิกายนี้ยึดมั่นในคัมภีร์ที่ว่าด้วยพิธีกรรมต่างๆ อันได้แก่ คัมภีร์ ชะยิต-เน-ชะยิต ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยเดียวกันกับคัมภีร์เมนอกิขรัท
หลักคำสอน และจริยศาสตร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์
1.สอนถึงเมตตากรุณา และบาปหนักที่สุดในศาสนานี้
1.1 สัจจะเป็นคุณธรรมข้อแรก คนที่พูดสัตย์เพียงคนเดียว ยังดีกว่าคนทั้งโลกที่พูดเท็จ
1.2 ทานเป็นคุณธรรมข้อถัดมา จงมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือคนยากจน ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่รู้ ให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือ
1.3 บาปหนักที่สุด คือการพูดเท็จ การพูดเท็จอาจหลอกมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถหลอกพระเจ้าได้ พระเจ้าจะลงโทษคนพูดเท็จ และคนที่ช่วยเหลือในการพูดเท็จด้วย หน้าที่ของคนดีนอกจากจะไม่พูดเท็จแล้ว ยังต้องคอยจับคนพูดเท็จด้วย
1.4 ความเท็จก่อให้เกิดโทษทัณฑ์ชั่วชีวิต แต่ความจริงทำให้ชีวิตสูงส่งขึ้นตามลำดับ
2.สอนถึงคุณค่าของความขยันหมั่นเพียร
2.1 ความขยันหมั่นเพียรเป็นทิพย์อำนาจ โดยอาศัยอำนาจนี้ มนุษย์จะได้อาหาร อำนาจ และทรัพย์สมบัติ
2.2 บุคคลควรพากเพียรเพื่อตั้งตัวได้ แต่อย่าเห็นความร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติมากกว่าความร่ำรวย ทางจิตใจ
3. สอนให้แต่งงาน ไม่ส่งเสริมเพศนักบวช ศาสนาโซโรอัสเตอร์ส่งเสริมเพศฆราวาส และการแต่งงานเพื่อสืบพืชพันธุ์ของมนุษยชาติ จะได้มีคนนับถือเทพเจ้าตลอดไป แต่ก็ห้ามมีภรรยา 2 คน การแต่งงานดีกว่าอยู่โสด การมีลูกดีกว่าไม่มี
4.คำสอนที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกับปวงเทพ 6 ประการ
4.1 พฤติกรรมที่สุจริตทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4.2 ความมีจิตใจบริสุทธิ์สะอาด
4.3 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
4.4 ความเมตตากรุณาต่อสัตว์ที่ให้คุณประโยชน์
4.5 การทำงานที่มีคุณค่า
4.6 การช่วยเหลือผู้ยากจนให้ได้รับการศึกษา
5.สอนถึงหน้าที่ของมนุษย์ 3 ประการ
4.4 ความเมตตากรุณาต่อสัตว์ที่ให้คุณประโยชน์
4.5 การทำงานที่มีคุณค่า
4.6 การช่วยเหลือผู้ยากจนให้ได้รับการศึกษา
5.สอนถึงหน้าที่ของมนุษย์ 3 ประการ
5.1 ทำศัตรูให้เป็นมิตร
5.2 ทำคนชั่วให้เป็นคนดี
5.3 ทำคนโง่ให้เป็นคนฉลาด
6. หลักการสร้างนิสัยที่ดี 4 ประการ
6. หลักการสร้างนิสัยที่ดี 4 ประการ
6.1 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลผู้สมควร
6.2 มีความยุติธรรม
6.3 เป็นมิตรกับทุกๆคน
6.4 ขจัดความอสัตย์ออกไปจากตัวเอง
หลักธรรมขั้นสูงสำหรับนักบวช
1. ธรรม 5 ได้แก่
1.1 เป็นผู้ถือพรหมจรรย์
1.2 มีความเที่ยงธรรมทั้งกาย วาจา ใจ และสัตว์ทั้งหลาย
1.3มีความรู้เป็นที่เชื่อถือได้
1.4 เป็นผู้ฉลาดในพิธีกรรม
1.5 อดทนต่อความชั่ว
2. วินัย 10 ได้แก่
2.1 มีชื่อเสียงดี เพื่อความดีของครูบาอาจารย์
2.2 ไม่มีชื่อเสียงชั่ว เพื่อครูบาอาจารย์
2.3 ไม่ทุบตี และไม่กล่าวคำหยาบต่อครูบาอาจารย์
2.4 เชื่อฟัง และสอนตามครูบาอาจารย์
2.5 ให้รางวัลคนทำดี และลงโทษคนทำชั่ว
2.6 ต้องต้อนรับผู้มาหาด้วยกิริยาอันงาม
2.7 ห้ามประพฤติชั่ว
2.8 สารภาพความชั่วที่ตนกระทำ
2.9 ต้องรู้ความเคลื่อนไหวของศาสนา และช่วยบำรุงศาสนา
2.10 ต้องภักดีต่อผู้ปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักร
คำสั่งสอนของศาสนาโซโรอัสเตอร์ถึงแม้จะมีมาก แต่เมื่อสรุปแล้วก็มี 3 อย่าง คือ คิดดี พูดดี และทำดี การคิดดี คือคิดแบบคนดีคิด โดยยึดมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ถูกต้อง พูดดี คือพูดอยู่ในเหตุผล ส่วนทำดี คือการกระทำที่ได้รับการสรรเสริญจากคนดี
หลักธรรมขั้นสูงสำหรับนักบวช
1. ธรรม 5 ได้แก่
1.1 เป็นผู้ถือพรหมจรรย์
1.2 มีความเที่ยงธรรมทั้งกาย วาจา ใจ และสัตว์ทั้งหลาย
1.3มีความรู้เป็นที่เชื่อถือได้
1.4 เป็นผู้ฉลาดในพิธีกรรม
1.5 อดทนต่อความชั่ว
2. วินัย 10 ได้แก่
2.1 มีชื่อเสียงดี เพื่อความดีของครูบาอาจารย์
2.2 ไม่มีชื่อเสียงชั่ว เพื่อครูบาอาจารย์
2.3 ไม่ทุบตี และไม่กล่าวคำหยาบต่อครูบาอาจารย์
2.4 เชื่อฟัง และสอนตามครูบาอาจารย์
2.5 ให้รางวัลคนทำดี และลงโทษคนทำชั่ว
2.6 ต้องต้อนรับผู้มาหาด้วยกิริยาอันงาม
2.7 ห้ามประพฤติชั่ว
2.8 สารภาพความชั่วที่ตนกระทำ
2.9 ต้องรู้ความเคลื่อนไหวของศาสนา และช่วยบำรุงศาสนา
2.10 ต้องภักดีต่อผู้ปกครองทั้งฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักร
คำสั่งสอนของศาสนาโซโรอัสเตอร์ถึงแม้จะมีมาก แต่เมื่อสรุปแล้วก็มี 3 อย่าง คือ คิดดี พูดดี และทำดี การคิดดี คือคิดแบบคนดีคิด โดยยึดมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ถูกต้อง พูดดี คือพูดอยู่ในเหตุผล ส่วนทำดี คือการกระทำที่ได้รับการสรรเสริญจากคนดี
หลักความเชื่อของศาสนาโซโรอัสเตอร์
ศาสนานี้เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนย่อมได้รับผลของกรรม บุคคลใด “ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว” ดังคำสอนของโซโรอัสเตอร์ในคัมภีร์ยัสนา ได้แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า “Evil to Evil , Good to Good” พวกเขาเชื่อว่านอกจากจะได้รับผลของกรรมแล้ว การสวดมนต์ก็ดี หรือการไถ่บาปก็ดี ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกรรมได้ เมื่อตนเลือกที่จะทำอย่างไร ก็เท่ากับว่าตนเองเลือกที่จะเป็นเช่นนั้น และพวกเขาต้องยอมรับผลของการเลือกนี้
ชีวิตหลังความตาย
ศาสนาโซโรอัสเตอร์สอนว่า วิญญาณเป็นอมตะไม่ตายตามร่างกาย กล่าวคือเมื่อคนตายแล้ว วิญญาณจะวนเวียนอยู่กับร่างกายอยู่ 3 วัน 3 คืน แล้วครั้นรุ่งขึ้นวันที่ 4 วิญญาณจึงจะไปสู่สถานที่ตัดสิน บุญ-บาป ซึ่งพระมิตระทรงเป็นผู้ตัดสินโดยใช้ตาชั่งบุญ-บาปชั่ง จากนั้นก็จะไปขึ้นสะพานชินวัต (Chinvat) วิญญาณที่ทำความดีไว้มากก็จะเดินไปตามสะพานอย่างสะดวกสบาย สะพานนั้นจะขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ และมีเทพอัปสรคอยช่วยเหลือ และนำทาง วิญญาณจะถามเทพอัปสรว่าท่านเป็นใคร เทพอัปสรจะตอบว่าฉันเป็นอัตตาของท่าน เป็นตัวแทนความสะอาด ความบริสุทธิ์ทั้ง 3 คือ ทางกาย วาจา และใจ ที่ท่านประกอบมาแล้ว ครั้นแล้วเทพอัปสรก็นำวิญญาณนั้นไปสู่สวรรค์ดินแดนแห่งความสว่าง ความสุข ความสวยงาม และความหอม อยู่กับพระอหุระ มาซดะชั่วนิรันดร ส่วนคนที่ทำความชั่วไว้มาก ก็จะเดินไปบนสะพานด้วยความยากลำบาก เพราะสะพานเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง และสะพานนั้นจะแคบลงทุกทีจนกลายเป็นคมดาบที่คมกริบ อีกทั้งมีแม่มดตนหนึ่ง รูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวมาคอยต้อนรับ วิญญาณจะถามแม่มดว่าท่านเป็นใคร แม่มดจะตอบว่าเราคืออัตตาของท่าน เป็นตัวแทนความสกปรก ความไม่บริสุทธิ์ทั้ง 3 คือทางกาย วาจา และใจ ที่ท่านได้กระทำไว้แล้ว ว่าแล้วแม่มดก็จะนำวิญญาณลงนรก ดินแดนแห่งความมืด และความทุกข์ทรมาน อยู่กับอหริมันตลอดกาลนาน แต่การตกนรกจะไม่ตกชั่วนิรันดร เขาจะตกนรกไปจนกว่าจะได้รู้สึกสำนึกตัว กลัวความชั่ว ไม่กล้าทำบาปกรรมอีก พระเจ้าก็จะนำเขาขึ้นจากนรกไปอยู่บนสวรรค์กับพระองค์ตลอดไป
ประเพณี และพิธีกรรมในศาสนาโซโรอัสเตอร์
ก่อนที่จะมีการนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ แต่เดิมมาชาวอารยันในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณ นิยมการบูชายัญ เพื่อเซ่นสรวงอ้อนวอนเทพเจ้า ต่อมาเมื่อได้ยอมรับนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์แล้ว ได้เปลี่ยนหลักปฏิบัติจากการบูชายัญมาเป็นการสวดมนต์อ้อนวอนเพื่อขอให้พระอหุระ มาซดะ ประทานชีวิตที่ดี ที่ถูกต้องแก่พวกเขา ในขณะสวดมนต์บางทีก็เผาไม้หอม จำพวกแก่นจันทร์ ทำให้ภายในโบสถ์มีกลิ่นหอมอบอวลอยู่เสมอ ในขณะเผาไม้แก่นจันทร์ พวกพระจะต้องสวมหน้ากากทำพิธี เพื่อกันไม่ให้ลมหายใจไปโดนไฟอันศักดิ์สิทธิ์ ในทุกๆปี ชาวโซโรอัสเตอร์จะต้องทำศาสนกิจนี้เป็นประจำ โดยนำไม้แก่นจันทร์ติดตัวไปด้วย หลังจากเผาไฟแล้ว เขาจะนำขี้เถ้ากลับไปบ้านทุกครั้ง เพราะถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมที่สำคัญอื่นๆ เช่น
1. พิธีปฏิญาณตนเข้านับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์
เมื่ออายุครบ 7 ปี ในอินเดีย และ10 ปีในอิหร่าน และจะได้รับเสื้อ และกฤช ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับกายตลอดชีวิต
2. พิธีนวโชติ
ศาสนิกชนศาสนาโซโรอัสเตอร์ไม่ว่าชาย หรือหญิง เมื่ออายุได้ 15-17 ปี จะต้องเข้าพิธีนวโชติด้วยการสวมด้ายมงคล โดยผู้ชายสวมด้ายสีขาวที่เรียกว่า กุสติ ซึ่งมีทั้งหมด 72 เส้น รวมกันเป็นเส้นเดียว เพื่อเป็นเครื่องหมายธรรม 72 บทในคัมภีร์ยัสนะ แล้วใช้ด้ายพันเอว 3 รอบ เป็นสัญลักษณ์ความบริสุทธิ์ 3 อย่าง คือความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา และใจ ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อขาวที่ทำด้วยผ้าลินินที่เรียกว่า สุทรา ชายและหญิงที่ผ่านพิธีกรรมนี้แล้ว เรียกว่า ผู้เกิดใหม่
3. พิธียัสนะ
เป็นพิธีบวงสรวงเทพเจ้าด้วยโสม หรือเหล้าศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีจัดขึ้นหน้ากองไฟ และมีการสวดมนต์ในคัมภีร์อเวสตะอีกด้วย
4. พิธีบูชาไฟ
ชาวโซโรอัสเตอร์ถือว่า ไฟ เป็นสัญลักษณ์แห่งเทพเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ทรง แสงสว่างยิ่งกว่าแสงสว่างใดๆ ผู้ประทานความอบอุ่นให้แก่มวลมนุษยชาติ เพราะฉะนั้น เมื่อไฟอยู่ที่ใด ย่อมจะเผาผลาญสิ่งสกปรกโสมมทั้งหลายให้สูญสิ้นไป เหลือแต่ความสะอาดบริสุทธิ์ ความสว่างไสว และความอบอุ่น ศาสนิกชนแห่งโซโรอัสเตอร์จึงนิยมบูชาไฟ โดยจะจุดไฟเพื่อบูชาไว้ไม่ขาดสาย จะคอยระวังไม่ให้ไฟดับ จะต้องตามไฟเป็นเครื่องบูชาไว้เป็นนิจ จะจุดไฟให้ ลุกโพลงในที่บูชา หรือในโบสถ์อยู่ตลอดเวลาสิ่งที่ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์อย่าเอาใส่เข้าไปในไฟ และจะต้องให้สตรีมีฤดูอยู่ห่างจากที่บูชาไฟ 3 ก้าว
5. พิธีศพ
บทบาทของศาสนาโซโรอัสเตอร์ต่อสังคม
1.คำสอนที่เน้นความบริสุทธิ์สะอาด ช่วยให้สังคมมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
2.ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เพราะสอนให้มีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน
3.ช่วยให้สังคมมีความรักใคร่สมัครสมาน และสามัคคีกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4.ช่วยให้สังคมประพฤติแต่ในสิ่งที่เป็นสุข ละเว้นสิ่งที่เป็นบาป ทำให้สมาชิกของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
5.ช่วยให้สังคมมีความเป็นอยู่อย่างมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค และความยากลำบากในชีวิต การบูชาไฟช่วยให้สังคมได้แสดงออกซึ่งความสำนึกในบุญคุณที่ธรรมชาติได้มีต่อมนุษย์
ศาสนาโซโรอัสเตอร์สอนว่า วิญญาณเป็นอมตะไม่ตายตามร่างกาย กล่าวคือเมื่อคนตายแล้ว วิญญาณจะวนเวียนอยู่กับร่างกายอยู่ 3 วัน 3 คืน แล้วครั้นรุ่งขึ้นวันที่ 4 วิญญาณจึงจะไปสู่สถานที่ตัดสิน บุญ-บาป ซึ่งพระมิตระทรงเป็นผู้ตัดสินโดยใช้ตาชั่งบุญ-บาปชั่ง จากนั้นก็จะไปขึ้นสะพานชินวัต (Chinvat) วิญญาณที่ทำความดีไว้มากก็จะเดินไปตามสะพานอย่างสะดวกสบาย สะพานนั้นจะขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ และมีเทพอัปสรคอยช่วยเหลือ และนำทาง วิญญาณจะถามเทพอัปสรว่าท่านเป็นใคร เทพอัปสรจะตอบว่าฉันเป็นอัตตาของท่าน เป็นตัวแทนความสะอาด ความบริสุทธิ์ทั้ง 3 คือ ทางกาย วาจา และใจ ที่ท่านประกอบมาแล้ว ครั้นแล้วเทพอัปสรก็นำวิญญาณนั้นไปสู่สวรรค์ดินแดนแห่งความสว่าง ความสุข ความสวยงาม และความหอม อยู่กับพระอหุระ มาซดะชั่วนิรันดร ส่วนคนที่ทำความชั่วไว้มาก ก็จะเดินไปบนสะพานด้วยความยากลำบาก เพราะสะพานเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง และสะพานนั้นจะแคบลงทุกทีจนกลายเป็นคมดาบที่คมกริบ อีกทั้งมีแม่มดตนหนึ่ง รูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวมาคอยต้อนรับ วิญญาณจะถามแม่มดว่าท่านเป็นใคร แม่มดจะตอบว่าเราคืออัตตาของท่าน เป็นตัวแทนความสกปรก ความไม่บริสุทธิ์ทั้ง 3 คือทางกาย วาจา และใจ ที่ท่านได้กระทำไว้แล้ว ว่าแล้วแม่มดก็จะนำวิญญาณลงนรก ดินแดนแห่งความมืด และความทุกข์ทรมาน อยู่กับอหริมันตลอดกาลนาน แต่การตกนรกจะไม่ตกชั่วนิรันดร เขาจะตกนรกไปจนกว่าจะได้รู้สึกสำนึกตัว กลัวความชั่ว ไม่กล้าทำบาปกรรมอีก พระเจ้าก็จะนำเขาขึ้นจากนรกไปอยู่บนสวรรค์กับพระองค์ตลอดไป
ประเพณี และพิธีกรรมในศาสนาโซโรอัสเตอร์
1. พิธีปฏิญาณตนเข้านับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์
เมื่ออายุครบ 7 ปี ในอินเดีย และ10 ปีในอิหร่าน และจะได้รับเสื้อ และกฤช ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับกายตลอดชีวิต
2. พิธีนวโชติ
ศาสนิกชนศาสนาโซโรอัสเตอร์ไม่ว่าชาย หรือหญิง เมื่ออายุได้ 15-17 ปี จะต้องเข้าพิธีนวโชติด้วยการสวมด้ายมงคล โดยผู้ชายสวมด้ายสีขาวที่เรียกว่า กุสติ ซึ่งมีทั้งหมด 72 เส้น รวมกันเป็นเส้นเดียว เพื่อเป็นเครื่องหมายธรรม 72 บทในคัมภีร์ยัสนะ แล้วใช้ด้ายพันเอว 3 รอบ เป็นสัญลักษณ์ความบริสุทธิ์ 3 อย่าง คือความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา และใจ ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อขาวที่ทำด้วยผ้าลินินที่เรียกว่า สุทรา ชายและหญิงที่ผ่านพิธีกรรมนี้แล้ว เรียกว่า ผู้เกิดใหม่
3. พิธียัสนะ
เป็นพิธีบวงสรวงเทพเจ้าด้วยโสม หรือเหล้าศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีจัดขึ้นหน้ากองไฟ และมีการสวดมนต์ในคัมภีร์อเวสตะอีกด้วย
4. พิธีบูชาไฟ
ชาวโซโรอัสเตอร์ถือว่า ไฟ เป็นสัญลักษณ์แห่งเทพเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ทรง แสงสว่างยิ่งกว่าแสงสว่างใดๆ ผู้ประทานความอบอุ่นให้แก่มวลมนุษยชาติ เพราะฉะนั้น เมื่อไฟอยู่ที่ใด ย่อมจะเผาผลาญสิ่งสกปรกโสมมทั้งหลายให้สูญสิ้นไป เหลือแต่ความสะอาดบริสุทธิ์ ความสว่างไสว และความอบอุ่น ศาสนิกชนแห่งโซโรอัสเตอร์จึงนิยมบูชาไฟ โดยจะจุดไฟเพื่อบูชาไว้ไม่ขาดสาย จะคอยระวังไม่ให้ไฟดับ จะต้องตามไฟเป็นเครื่องบูชาไว้เป็นนิจ จะจุดไฟให้ ลุกโพลงในที่บูชา หรือในโบสถ์อยู่ตลอดเวลาสิ่งที่ไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์อย่าเอาใส่เข้าไปในไฟ และจะต้องให้สตรีมีฤดูอยู่ห่างจากที่บูชาไฟ 3 ก้าว
5. พิธีศพ
เมื่อมีคนตายตามประเพณีของโซโรอัสเตอร์ จะนำสุนัขตัวหนึ่งซึ่งมี 4 ตา คือมีจุดที่เหนือตาข้างละจุดมาไว้ใกล้ๆศพ นำสุนัขมามองศพวันละ 5 ครั้ง ภายหลังการกระทำครั้งแรกแล้ว จะนำไฟมาไว้ในห้องที่ศพอยู่ จะต้องรักษาไฟไม่ให้ดับจนครบ 3 วัน จึงย้ายศพไปไว้ในหอคอยแห่งความสงบ จะกระทำการย้ายศพในเวลากลางวัน และทิ้งศพไว้ให้เป็นเหยื่อนกแร้ง เมื่อนกแร้งจัดการศพเสร็จแล้ว ก็จะกวาดกระดูกลงไปยังบริเวณบ่อที่อยู่ตรงกลางหอคอย เมื่อล่วงไปได้ 4 วัน วิญญาณก็จะเดินทางไปสู่ปรโลกต่ไป
1.คำสอนที่เน้นความบริสุทธิ์สะอาด ช่วยให้สังคมมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
2.ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เพราะสอนให้มีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน
3.ช่วยให้สังคมมีความรักใคร่สมัครสมาน และสามัคคีกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4.ช่วยให้สังคมประพฤติแต่ในสิ่งที่เป็นสุข ละเว้นสิ่งที่เป็นบาป ทำให้สมาชิกของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
5.ช่วยให้สังคมมีความเป็นอยู่อย่างมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค และความยากลำบากในชีวิต การบูชาไฟช่วยให้สังคมได้แสดงออกซึ่งความสำนึกในบุญคุณที่ธรรมชาติได้มีต่อมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น