วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีหลังคาเป็นมุขลด ๓ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบและประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีหน้าบันทำจากไม้แกะสลักประดับกระจกสีเป็นภาพนารายณ์ทรงครุฑอยู่ตรงกลาง บานประตูและหน้าต่างด้านนอกเขียนรายลดน้ำ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัยรอบพระอุโบสถมีพระระเบียงล้อมรอบ ภายในพระระเบียงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปถึง ๑๖๓ องค์ บริเวณรอบพระอุโบสถมี ซุ้มเสมา อยู่ ๘ ทิศ ลักษณะซุ้มเป็นแบบกูบช้างหน้านางประดับด้วยกระเบื้องสีต่าง ๆ มีใบเสมาคู่ สลักด้วยศิลาปิดทองและประดับกระจกสี ซุ้มเสมาของวัดนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นซุ้มที่สวยงามและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง ถัดจากพระอุโบสถไปทางด้านหลังเป็นที่ตั้งของ พระวิหาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ภายในพระวิหารแบ่งป็น ๒ ห้อง ห้องทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประดิษฐาน “ พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ” เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย หล่อด้วยสำริดขนาดใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่ ๓ โปรดให้อัญเชิญมาจากวัดวิหารทองจังหวัดพิษณุโลก ส่วนห้องทางด้านทิสตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปิดทองปางมารวิชัย มีชื่อว่า หลวงพ่อดุสิต
สถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงมากที่สุดของวัดสระเกศก็คือ พระบรมบรรพต หรือที่เรียกกันติดปากว่า ภูเขาทอง เริ่มสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แต่การก่อสร้างพระเจดีย์มีอุปสรรคมากเนื่องจากบริเวณวัดสระเกศนี้อยู่ใกล้คลอง เป็นที่ลุ่มและดินอ่อนตัวมาก ไม่สามารถทานน้ำหนักของจดีย์ไหว จึงทรุดตัวลงแม้จะพยายามสร้างใหม่ก็กลับทรุดลงเช่นเดิม จึงได้เลิกราแต่เพียงเท่านั้น ต่อมาในสมันรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดให้ก่อสร้างภูเขาทองขึ้นใหม่ โดยแปลงพระเจดีย์องค์เดิมให้เป็นภูเขา ก่อพระเจดียไว้บนยอดเขาและพระราชทานนามว่า “ บรมบรรพต ” ภายในพระเจดีย์ของภูเขาทองมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ และเนื่องจากภูเขาทองเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติ จึงได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้
ทางวัดสระเกศได้จัดให้มีงานนมัสการพระบรมธาตุบนเจดีย์ภูเขาทอง ในวันขึ้น ๑๓ , ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี ถ้าใครว่างก็น่าจะหาโอกาสไปกราบนมัสการพระบรมธาตุ และชมความงามของสถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณวัดสระเกศกันบ้าง
แร้งวัดสระเกศ
ในสมัย รัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2363 เกิดโรคห่าระบาดอย่างหนัก ในกรุงเทพมหานคร ขณะนั้น ยังไม่มีวิธีรักษา และรู้จักการป้องกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงใช้วิธีให้กำลังใจ โปรดฯ ให้ตั้งพิธีขับไล่โรคนี้ขึ้น เรียกว่า "พิธีอาพาธพินาศ" โดยจัดขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบรมสารีริกธาตุออกแห่ มีพระราชาคณะโปรยพระพุทธมนต์ตลอดทาง ทรงทำบุญเลี้ยงพระ โปรดให้ปล่อยปลาปล่อยสัตว์ และประกาศไม่ให้ประชาชนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยู่กันแต่ในบ้าน กระนั้นก็ยังมีคนตายเพราะอหิวาต์ประมาณ 3 หมื่นคน ศพกองอยู่ตามวัดเป็นภูเขาเลากา เพราะฝังและเผาไม่ทัน บ้างก็แอบเอาศพทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองในเวลากลางคืน จึงมีศพลอยเกลื่อนกลาดไปหมด ประชาชนต่างอพยพหนีออกไปจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด งานของราชการ และธุรกิจทั้งหลายต้องหยุดชะงัก เพราะผู้คนถ้าไม่หนีไปก็มีภาระในการดูแลคนป่วย และจัดการกับศพของญาติมิตร ในเวลานั้น วัดสระเกศ เป็นศูนย์รวมของแร้งจำนวนนับพันอหิวาต์ เวียนมาในทุกฤดูแล้ง และหายไปในฤดูฝนเช่นนี้ทุกปี จะในปี พ.ศ. 2392 อหิวาต์ ก็ระบาดหนักอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ เกิดขึ้นที่ปีนังก่อน แล้วแพร่ระบาดมาจนถึงกรุงเทพฯ เรียกกันว่า "ห่าลงปีระกา" ในระยะเวลาช่วง 1 เดือน ที่เริ่มระบาดมีผู้เสียชีวิตถึง 15,000 - 20,000 คน และตลอดฤดู ตายถึง 40,000 คน เจ้าฟ้ามงกุฏฯ คือ รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นดำรงเพศบรรพชิต เป็นพระราชาคณะ ได้ทรงบัญชาให้วัดสามวัด คือ วัดสระเกศ วัดบางลำพู (วัดสังเวชวิศยาราม) และวัดตีนเลน (วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุข) เป็นสถานที่สำหรับเผาศพ มีศพที่นำมาเผาสูงสุด ถึงวันละ 696 ศพ แต่กระนั้น ศพที่เผาไม่ทัน ก็ถูกกองสุมกันอยู่ตามวัด โดยเฉพาะวัดสระเกศ มีศพส่งไปไว้มากที่สุด ทำให้ฝูงแร้งแห่งไปลงทึ้งกินซากศพ ตามลานวัด บนต้นไม้ บนกำแพง และหลังคากุฏิเต็มไปด้วยแร้ง แม้เจ้าหน้าที่จะถือไม้คอยไล่ก็ไม่อาจกั้นฝูงแร้ง ที่จ้องเข้ามารุมทึ้งซากศพอย่างหิวกระจายได้ และจิกกินซากศพ จนเห็นกระดูกขาวโพลน พฤติกรรมของ "แร้งวัดสระเกศ" ที่น่าสยดสยองจึงเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น