วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ศาสนาอิสลาม




                           ศาสนาอิสลาม


         ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาเอกเทวนิยม (monotheism) บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งสาวกมองว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเจ้า (อาหรับ: ‎อัลลอฮฺ) และโดยคำสอนและตัวอย่างเชิงปทัสถาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด ซึ่งสาวกมองว่าเป็นศาสดาหรือนบีองค์สุดท้ายของพระเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม
         มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นศรัทธาตั้งแต่ยุคกำเนิดโลกที่สมบูรณ์และเป็นสากลที่สุด ซึ่งได้มีโอกาสเผยมาในหลายโอกาสและสถานที่ก่อนหน้านั้น รวมทั้งผ่านอับราฮัม โมเสส และพระเยซู ซึ่งมุสลิมมองว่าเป็นศาสดาเช่นกัน พวกเขายึดมั่นว่า สารและการเปิดเผย (revelation) ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือด่างพร้อยบางส่วนเมื่อเวลาผ่านไป แต่มองว่าอัลกุรอานเป็นทั้งการเปิดเผยสุดท้ายและที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของพระเจ้า มโนทัศน์และหลักศาสนามีเสาหลักทั้งห้าของอิสลาม ซึ่งเป็นมโนทัศน์พื้นฐานและการปฏิบัติตนที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งครอบคลุมแทบทุกมุมของชีวิตและสังคม โดยกำหนดแนวทางในหัวเรื่องหลายหลาก ตั้งแต่การธนาคารไปจนถึงสวัสดิการ การสงครามและสิ่งแวดล้อม
        มุสลิมส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีย์ คิดเป็น 75-90% ของมุสลิมทั้งหมด นิกายใหญ่ที่สุดอันดับสอง คือ ชีอะฮ์ คิดเป็น 10-20% ประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุด คือ อินโดนีเซียซึ่งมีชาวมุสลิม 12.7% ของโลก ตามมาด้วยปากีสถาน (11.0%) อินเดีย (10.9%) และบังกลาเทศ (9.2%) นอกจากนี้ ยังพบชุมชนขนาดใหญ่ในจีน รัสเซียและยุโรปบางส่วน ด้วยสาวกกว่า 1,500 ล้านคน หรือ 22% ของประชากรโลก อิสลามจึงเป็นศาสนาใหญ่ที่สุดอันดับสองและหนึ่งในศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

        สลาม เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การสวามิภักดิ์ ซึ่งหมายถึงการสวามิภักดิ์อย่างบริบูรณ์แด่ อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า ด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ อิสลาม มีรากศัพท์มาจากคำว่า อัส-สิลมฺ หมายถึง สันติ โดยนัยว่าการสวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้มนุษย์ได้พบกับสันติภาพทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตั้งแต่แรกเริ่มของการกำเนิดของมนุษย์ คือนบีอาดัม ผ่านศาสดามาหลายท่านในแต่ละยุคสมัย จนถึงศาสดาท่านสุดท้ายคือมุหัมมัด และส่งผ่านมายังปัจจุบันและอนาคต จนถึงวันสิ้นโลก
        บรรดาศาสนทูตในอดีตล้วนแต่ได้รับมอบหมายให้สอนศาสนาอิสลามแก่มนุษยชาติ ศาสนทูตท่านสุดท้ายคือมุหัมมัด บุตรของอับดุลลอฮฺ บินอับดิลมุฏฏอลิบ จากเผ่ากุเรชแห่งอารเบีย ได้รับมอบหมายให้เผยแผ่สาส์นของอัลลอฮ์ในช่วงปี ค.ศ. 610 - 633 เฉกเช่นบรรดาศาสดาในอดีต โดยมี มะลักญิบรีล เป็นสื่อระหว่างอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าและบรรดาศาสดาท่านต่างๆมาโดยตลอด
       พระโองการแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ทะยอยลงมาในเวลา 23 ปี ได้รับการรวบรวมขึ้นเป็นเล่มมีชื่อว่า อัลกุรอาน ซึ่งเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตมนุษย์ และแบบอย่าง และวจนะที่รายงานโดยบุคคลรอบข้างที่ผ่านการกลั่นกรองสายรายงานแล้วเรียกว่า หะดีษ เพื่อที่มนุษย์จะได้ยึดเป็นแบบอย่าง และแนวทางในการครองตนบนโลกนี้อย่างถูกต้องก่อนกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า
         สาส์นแห่งอิสลามที่ถูกส่งมาให้แก่มนุษย์ทั้งมวลมีจุดประสงค์หลัก 3 ประการคือ
เป็นอุดมการณ์ที่สอนมนุษย์ให้ศรัทธาในอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ที่สมควรแก่การเคารพบูชาและภักดีโดยไม่นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเทียบเคียง ศรัทธาในความยุติธรรมของพระองค์ ศรัทธาในพระโองการแห่งพระองค์ ศรัทธาในวันปรโลก วันซึ่งมนุษย์ฟื้นคืนชีพอีกครั้งเพื่อรับการพิพากษา และรับผลตอบแทนของความดีความชั่วที่ตนได้ปฏิบัติไปในโลกนี้ มั่นใจและไว้วางใจต่อพระองค์ เพราะพระองค์คือที่พึ่งพาของทุกสรรพสิ่ง มนุษย์จะต้องไม่สิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ และพระองค์คือปฐมเหตุแห่งคุณงามความดีทั้งปวง เป็นธรรมนูญสำหรับมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตส่วนตัว และสังคม เป็นธรรมนูญที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ หรือนิติศาสตร์ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ไปจนกระทั่งระดับรัฐ อิสลามสั่งสอนให้มนุษย์อยู่กันด้วยความเป็นมิตร ละเว้นการรบราฆ่าฟันโดยไม่มีเหตุอันควร การทะเลาะเบาะแว้ง การละเมิดและรุกรานสิทธิของผู้อื่น ไม่ลักขโมย ฉ้อฉล หลอกลวง ไม่ผิดประเวณี หรือทำอนาจาร ไม่ดื่มของมึนเมาหรือรับประทานสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกายและจิตใจ ไม่บ่อนทำลายสังคมแม้ว่าในรูปแบบใดก็ตาม เป็นจริยธรรมอันสูงส่งเพื่อการครองตนอย่างมีเกียรติ เน้นความอดกลั้น ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที ความสะอาดของกายและใจ ความกล้าหาญ การให้อภัย ความเท่าเทียม และความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น สั่งสอนให้ละเว้นความตระหนี่ถี่เหนียว ความอิจฉาริษยา การติฉินนินทา ความเขลาและความขลาดกลัว การทรยศและอกตัญญู การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อิสลามเป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นทางนำในการดำรงชีวิตทุกด้านตั้งแต่ตื่นจนหลับ และตั้งแต่เกิดจนตาย แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้น อายุ เพศ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ฐานันดร หรือ ยุคสมัยใด




วีธีการละหมาด
       วิธีการละหมาด 5 เวลา วิธีการละหมาดของอิสลาม เวลาในการละหมาด 
       การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้แข้มแข็ง การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปในเรื่องต่างๆ เป็นภาวะที่จิตใจได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็นเอกภาพกับพระเจ้า ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น อดทน ผู้ที่มีความทุกข์และประสบปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ การละหมาดเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ทั้งยังฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความสะอาด และยังเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง หากเป็นการละหมาดรวมยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีพร้อมเพรียง ความเสมอภาค และภราดรภาพอีกด้วยการทำละหมาด เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระ คือ


ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย 
  • ย่ำรุ่ง(ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 - 6 โมงเช้า 
  • บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่ายโมงกว่าๆ 
  • เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น 
  • พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่าๆ 
  • กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 2 ทุ่มเป็นต้นไป

 ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในมัซฮับซุนนีย์เรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ

เงื่อนไขของการละหมาด

1. ผู้ละหมาดต้องนับถือศาสนาอิสลาม

2. มีเจตนาแน่วแน่ (นียะหฺ)

3. หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของเมกกะ

4. การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน)

5. การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ)

6.ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น