วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 ศาสนาซิกข์




ศาสนาซิกข์


         ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิกข์ เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของ นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า "คุรมัต" (ความหมายโดยพยัญชนะ หมายถึง "คำสอนของคุรุ" หรือ "ธรรมของซิกข์") คำว่า "ซิกข์" หรือ "สิกข์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศิษฺย" หมายถึง ศิษย์ ผู้เรียน หรือ "ศิกฺษ" หมายถึง การเรียน และภาษาบาลีว่า "สิกฺข" หรือ "สิกฺขา" หมายถึง การศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้ 
        ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม เนื่องจากหลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์ สาหิพ" ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสา ปันถ (Khalsa Panth) การสอนและหลักปฏิบัติของศาสนาซิกข์มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคปัญจาบในลักษณะต่างๆ กัน
ศาสนาซิกข์นับเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาซิกข์มากกว่า 23 ล้านคนทั่วไป ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐปัญจาบ ของอินเดีย       ผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์ ในระยะแรกต้องประกอบพิธี "ปาหุล" ก่อน แล้วจะได้นามพิเศษต่อท้ายชื่อว่า "สิงห์" หรือ "ซิงห์" และจะได้รับ 5 สิ่ง ที่เรียกว่า "กกะ" คือ

  • เกศ คือ การไว้ผมยาว โดยไม่ต้องตัดเลย 
  • กังฆา คือ หวีขนาดเล็ก 
  • กฉา คือ กางเกงขาสั้น 
  • กรา คือ กำไลมือทำด้วยเหล็ก 
  • กฤปาน คือ ดาบ 
                                   กกะ 5 อย่ง ที่ชาวสิกข์ผู้ประกอบพิธีปาหุลแล้วจะได้รับ 

พระคัมภีร์ของศาสนาสิกข์
        พระมหาคัมภีร์ของศาสนาสิกข์คือ อาดิครันถ์ เป็นที่รวมของพระธรรม บทสวดภาวนา สดุดีพระผู้เป็นเจ้า โดยพระศาสดาของสิกข์ และนักบวช นักบุญ และนักปราชญ์ ของอินเดียในสมัยนั้น ประดุจศูนย์ รวมของข้อปฏิบัติทางศาสนาและจิตใจหลักคำสอน
        ความเชื่อถือพื้นฐานของสิกข์ คือ “มูลมันตระ- บทสวดขั้นมูลฐาน” (ข้อมูลแห่งมนตรประเสริฐ) บทสวดนี้เป็นบทสวดปฐม บทแรกเริ่มต้นในพระมหาคัมภีร์คุรครันถ์ซาฮิบ ประพันธ์โดยพระศาสดาคุรุนานัก เป็นบทสรุปและรากฐานแห่งความเชื่อถือของชาวสิกข์ ชาวสิกข์จะสวดภาวนาบทสวดนี้ทุกวัน

พิธีกรรมที่สำคัญ
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของศาสนาสิกข์ คือ ต้องการให้ทุกคน ที่นับถือสิกข์ มีความรู้สึกต่อกันฉันพี่น้อง เป็นการสร้าง "ภราดรภาพ" ขึ้นหมู่ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาร่วมกัน โดยไม่มีการถือชาติชั้นวรรณะ พิธีกรรมที่สำคัญ จึงมุ่งอยู่ที่ ความเสมอภาคและความสามัคคี ได้แก่
สังคีต หมายถึง การชุมนุมผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์ร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดการสามัคคี ในที่ชุมนุมนี้ ทุกคนจะต้อง ช่วยตัวเอง เหมือนกันหมด ไม่มีนายไม่มีบ่าว คนที่ไม่เคย ทำงานด้วยตัวเอง เมื่อเข้ามาสู่พิธีนี้แล้ว จะต้องทำเองทุกอย่าง
อมฤตสังสการ หมายถึง พิธีรับคนเข้าสู่ศาสนาสิกข์ เพราะเหตุที่ศาสนานี้ เกิดจากการประยุกต์ ศาสนาอิสลาม กาับศาสนาฮินดูเข้าด้วยกัน ดังนั้น ผู้ที่ถือศาสนาสิกข์ จึงอาจนับถือศาสนาใดมาก่อนก็ได้ แต่เมื่อเข้ามาสู่ศาสนานี้ แล้ว ต้องเลิกปรัมปราประเพณีต่าง ๆ ที่เจยยึดถือมาให้หมด เช่น เมื่อนับถือศาสนาพราหมณ์ อาจดูถูกดูหมิ่นพวกศูทรว่า เป็นกาลกิณี เป็นบุคคลที่ไม่พึงแตะต้อง หรือพวกพราหมณ์ ต้องปรุงอาหารรับประทานเอง จะรับประทานอาหาร ที่คนในวรรณอื่นปรุงขึ้นไม่ได้ หรือผู้ที่นับถือศาสนา อิสลาม จะต้องทำนมาซวันละ 5 ครั้ง ต้องรับประทาน เนื้อสัตว์ ที่มุสลิมเป็นผู้ฆ่า เป็นต้น เมื่อมานับถือศาสนาสิกข์ นั้น ทุกคนจะนั่งร่วมกันในสถานที่แห่งเดียวกัน หยิบอาหาร ใส่ปากกันและกันได้ ถ้าหากยังรังเกียจกันอยู่ ก็เชื่อว่า ยังไม่เป็นสิกข์ เป็นต้น


จุดหมายปลายทางสูงสุดของศาสนาสิกข์
         ศาสนาสิกข์มีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร ที่ชาวสิกข์ทุกคนปรารถนาจะดำเนินไปถึง คือ ความกลมกลืนเข้ากับชีวิตของพระเจ้า หรือได้รับพระมหากรุณาจากพระเจ้า วิธีที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางนั้นได้ก็ต้องบูชาพระเจ้า สวดเพลงสรรเสริญพระนาม และการฟังพระนาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น