วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 12 มารยาทชาวพุทธ

มารยาทชาวพุทธ



         มารยาท หมายถึง ระเบียบแบบแผน หรือขอบเขตอันเป็นข้อจำกัดที่บุคคลพึงประพฤติปฏิบัติเพื่อความสงบสุขทั้งแก่ตนเอง และส่วนรวมมารยาทนั้นมุ่งการประพฤติปฏิบัติ ให้เกิดขึ้นทางกาย และทางวาจา ซึ่งเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่าย
        มารยาท และการวางตัวที่เหมาะสม จึงเป็นปราการด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ผ่านการอบรมฝึกฝนตนมาดี มีคุณสมบัติของผู้ดีมีวัฒนธรรมอันเจริญ สามารถยังจิตของผู้พบเห็นให้ยินดีเลื่อมใส นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีความเคารพ อ่อนน้อม ส่งผลให้เกิดความเคารพในพระรัตนตรัย และเคารพในการปฏิสันถารอีกด้วย มารยาทการยืน การเดิน การนั่ง และการนอน


มารยาทชาวพุทธ

1. มารยาทในสังคม
        เป็นสิ่งที่ดีงามในสมัยก่อนนั้น มารยาทชาวพุทธ จะถูกปลูกฝังมาจากครอบครัวและคำสอนทางพระพุทธศาสนา จนนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนาที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย

2. มารยาทในการแต่งการ
     2.1 การแต่งกายไปวัด
           วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวพุทธจึงควรปฏิบัติตนต่อวัดด้วยความสุภาพและความเคารพ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง โดยปฏิบัติดังนี้คือ - ควรแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อยสีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาด ไม่รัดรูปเพื่อสะดวกในการกราบไหว้ และทำสมาธิ - วัดมิใช่ที่ที่คนจะแต่งตัวไปอวดความร่ำรวยกัน วัดควรเป็นที่เราไปเพื่อขัดเกลากิเลสมากกว่า จึงไม่ควรแต่งกายให้หรูหราล้ำสมัยใส่เครื่องประดับรุงรัง ไม่ควรใส่น้ำหอมที่มีกลิ่นรุนแรงจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน - บุรุษควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่ปล่อยชายเสื้อ ทรงผมตัดสั้นหรือหวีเรียบร้อย ไม่ใส่น้ำมันกลิ่นรุนแรงรบกวนผู้อื่น - สตรีไม่ควรแต่งกายแบบวับ ๆ แวม ๆ หรือใส่เสื้อบางจนเห็นเสื้อชั้นใน กระโปรงไม่ควรสั้นจนน่าเกลียด หรือผ่าหน้าผ่าหลังเพื่อเปิดเผยร่างกาย
    2.2 การแต่งกายไปงานมงคล 
         การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ เช่น ทำบุญวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส การแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น ควรแต่งกายดังนี้ - ควรแต่งกายเรียบร้อย สีสวยงามตามสมัยนิยม เหมาะสมกับงาน - ใส่เครื่องประดับพอประมาณ แต่ไม่ควรหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี - ขนาดพอดี ลุก นั่งได้สะดวก ไม่น่าเกลียด
การแต่งกายไปงานอวมงคล
   2.3 งานอวมงคล 
         การทำบุญเลี้ยงพระที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่ 2 อย่างคือทำบุญ หน้าศพ เรียกว่าทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ100 วัน และทำบุญอัฐิในวันคล้ายวันตายของผู้ล่วงลับ - ถ้าเป็นงานศพควรเป็นสีขาวหรือสีดำ - ถ้าเป็นวันทำบุญอัฐ ควรแต่งกายเรียบร้อย สีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือฉูดฉาด จนเกินควร เหมาะสมกับงาน ไม่ใส่เครื่องประดับหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี

3. มารยาทในการยืน


การยืนตามลำพัง

          ขาทั้งสองข้างชิดกัน หรืออยู่ในท่าพักแขน ปล่อยแนบลำตัวหรือจะประสานไว้ข้างหน้าเล็กน้อย จะยืนเอียงข้างนิดหน่อยก็ได้ แต่ต้องให้อยู่ในท่วงที ที่สง่างามอย่ายืนขากาง แกว่งแขน หันหน้าไปมา ลุกลี้ลุกลนหรือหลุกหลิก ล้วงกระเป๋า แคะ แกะ เกา เป็นต้น

การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่

           ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ แต่ควรยืนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ดังนี้คือ ยืนตรง ขาชิดปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบชิดข้าง ท่าทางสำรวม
           การประสานมือทำได้ 2 วิธี
               1. คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้
               2. หงายมือทั้ง 2 สอดนิ้วเข้าระหว่างช่องนิ้วของแต่ละนิ้ว


4. มารยาทในการเดิน

      วิธีเดินเข่า 

1. นั่งคุกเข่าตัวตรง มือทั้งสองข้างปล่อยตามสบายอยู่ข้าง ๆ ลำตัว


2. ยกเข่าขวา-ซ้ายก้าวไปข้างหน้าสลับกันไปมา ปลายเท้าตั้งช่วงก้าวของเข่ามีระยะพองาม ไม่กระชั้นเกินไป มือไม่แกว่ง หากผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มเล็กน้อย ขณะเดินเข่าระมัดระวังอย่าให้ปลายขาทั้งสองแกว่งไปมา ขณะก้าวเข่าอย่าให้ปลายเท้าลากพื้นจนมีเสียงดัง

3. เมื่อจะลุกจากการเดินเข่า ให้ชันเข่าข้างหนึ่งข้างใดมาข้างหน้า อีกข้างหนึ่งกดลงไปกับพื้นแล้วยกตัวขึ้นช้า ๆ 


การเดินตามลำพัง


           ให้เดินอย่างสุภาพหลังตรงช่วงก้าวไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป แกว่งแขนแต่พองาม สำหรับผู้หญิงขณะเดินให้ระมัดระวังการแกว่งแขนและสะโพกให้อยู่ในอิริยาบถที่เป็นไปโดยธรรมชาติ การเดินกับผู้ใหญ่ให้เดินไปทางซ้ายค่อนไปทางหลังเล็กน้อยเว้นแต่ต้องเดินในที่จำกัด จึงเดินตามหลังเป็นแถวท่าเดินต้องนอบน้อมช่วงก้าวพองาม อย่าเดินส่ายตัวหรือโคลงศรีษะ
          ในกรณีที่ต้องเดินตามหลังระยะใกล้ ๆ ต้องคอยสังเกตว่า ผู้ใหญ่ที่เดินนำอยู่นั้นจะหยุด ณ ที่แห่งใด จะได้ชลอฝีเท้าลง ป้องกันมิให้เดินชนท่าน

การคลานลงมือ


1. อาวุโสมากและคุ้นเคยกัน ขณะนั่งพื้นหรือเก้าอี้
       1.1 ให้เดินเข่ามาใกล้พอสมควร
       1.2 นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า กราบตั้งมือ 1 ครั้ง
       1.3 เมื่อจะผ่านให้คลานลงมือ ปลายเท้าตั้งกับพื้น
       1.4 ถ้าผู้ใหญ่ทักทายให้นั่งพับเพียบ เก็บปลายเท้ามือประสานบนตัก เมื่อจบการสนทนาให้กราบ ๑ ครั้งแล้วเดินเข่าผ่านไป
       1.5 หากอาวุโสมากแต่ไม่คุ้นเคยกัน ให้ค้อมตัวลงแล้วเดินเข่าผ่านไป ไม่ต้องคลานมือ และไม่ต้องกราบ

การเดินผ่านผู้ใหญ่

2. อาวุโสมาก และคุ้นเคย ขณะยืนอยู่
       2.1 ให้เดินเข้าไปใกล้พอสมควร สำหรับชายให้ค้อมตัวลงไหว้แบบไหว้บิดามารดา ครู อาจารย์หรือผู้มีอาวุโสมากสำหรับผู้หญิงให้ย่อตัวลงไหว้
       2.2 ถ้าผู้ใหญ่ทักทายให้มือประสานกัน และเมื่อจบการสนทนาให้ไหว้อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเดินค้อมตัวเล็กน้อยผ่านไป
       2.3 หากอาวุโสมากแต่ไม่คุ้นเคย ขณะยืนให้ค้อมตัวลงขณะเดิน ไม่ต้องไหว้
3. อาวุโสไม่มากนักแต่คุ้นเคยกัน ขณะนั่งเก้าอี้หรือยืน
       3.1 ให้เดินเข้าไปใกล้พอสมควร สำหรับชายให้ค้อมตัวลงไหว้ แบบไหว้ผู้ที่เคารพนับถือทั่วไป สำหรับผู้หญิงให้ย่อตัวลงไหว้ เมื่อจะผ่านให้เดินค้อมตัวผ่าน ไม่แกว่งแขนมืออยู่ข้างลำตัว หากท่านทักทายให้ยืนค้อมตัวรับฟังมือประสานกัน เมื่อจบการสนทนาแล้วไหว้อีกครั้ง แล้วค้อมตัวเดินผ่านไป
       3.2 ถ้าไม่คุ้นเคยกันขณะนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ ให้ค้อมตัวเดินผ่านไป ไม่ต้องไหว้ ถ้าอาวุโสไม่มากนักหรือเท่าเทียมกันให้ค้อมตัวลงต่ำ และกล่าวคำขอโทษก่อนเดินผ่าน

การเดินผ่านหลังผู้อื่น


1. ถ้าอาวุโสกว่า ไม่ว่าผู้นั้นจะนั่งกับพื้น นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ให้ค้อมตัวลงขณะเดินผ่าน มือทั้งสองข้างแนบลำตัว
2. ถ้าเป็นการเดินผ่านด้านหลังอย่างใกล้ชิดจนถึงต้องเบียดไป ถ้าเป็นผู้อาวุโสมาก ให้ค้อมตัวและไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอโทษก่อนจะเดินผ่าน
3. ถ้าอาวุโสไม่มากนักหรือเท่าเทียมกันให้ค้อมตัวลงต่ำและกล่าวคำขอโทษก่อนเดินผ่านไม่ต้องไหว้ การเดินผ่านผู้ใหญ่
      ข้อควรระวัง         - เมื่อเดินเข้าหาหรือผ่านผู้ใหญ่ ให้อยู่ในอิริยาบถสำรวม ไม่พูดคุยกัน
         - ขณะเดิน ต้องชำเลืองทางไว้เสมอ เพื่อป้องกันการสะดุด หรือชนสิ่งของ
         - อย่าเดินชิดผู้ใหญ่จนเสื้อผ้า, กระเป๋าถือหรือส่วนของร่างกายไปถูกร่างกายของผู้ใหญ่

5. มารยาทในการนั่ง 
        การนั่งพับเพียบ
             เป็นการนั่งที่นิยมกันในหมู่ชาวพุทธ ถือว่าสุภาพเรียบร้อย สวยงามน่าดูน่าชมปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาลจนถึงทุกวันนี้ นิยมปฏิบัติประจำทั้งทางโลก และทางธรรม โดยเฉพาะขณะเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่ซึ่งต้องนั่งกับพื้น

        วิธีนั่งพับเพียบ
1.การนั่งพับเพียบขวา ให้นั่งพับขาขวาปลายเท้าขวาหันไปทางด้านหลัง หงายฝ่าเท้าซ้ายขึ้นวาง ขาขวาทับฝ่าเท้าซ้าย หรือเพียงแค่แตะจรดขาขวาบริเวณหัวเข่า ตั้งกายให้ตรงระวังอย่าให้นิ้วเท้าซ้ายเกินหัวเข่าขวาออกมาข้างหน้า (ดังรูป)
2.การนั่งพับเพียบซ้าย ให้นั่งพับขาซ้ายปลายเท้าซ้ายหันไปด้านหลัง หงายฝ่าเท้าขวาขึ้นวาง ขาซ้ายทับฝ่าเท้าขวา หรือเพียงแค่แตะจรดขาขวาบริเวณหัวเข่า ตั้งกายให้ตรง ระวังอย่าให้นิ้วเท้าขวาเกินหัวเข่าออกมาข้างหน้า
วิธีการเปลี่ยนท่านั่งพับเพียบ 



ใช้มือทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสอง หรือยันพื้นด้านข้างลำตัวหรือด้านหน้า แล้วกระหย่งตัวขึ้นพร้อมกับพลิกเปลี่ยนเท้าพับไปอีกข้างหนึ่ง โดยพลิกเท้า ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ด้านหลังไม่นิยมยกมาผลัดเปลี่ยนทางด้านหน้า

การนั่งขัดสมาธิ


เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย ตั้งกายให้ตรงอย่างสบาย ๆ ไม่ยืด ไม่เกร็ง

การนั่งคุกเข่า
      เป็นกิริยาอาการนั่งเตรียมตัว เพื่อจะกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์

วิธีการนั่งคุกเข่า ชาย (อุบาสก)
       นิยมนั่งคุกเข่า ตั้งปลายเท้าทั้งสองยันพื้นไว้ นิ้วเท้าพับลงราบกับพื้น เท้าทั้งคู่แนบชิดสนิทกันนั่งทับลงบนส้นเท้าทั้งคู่ แยกหัวเข่าทั้งสองออกห่างกันประมาณ ๑ คืบ อวัยวะที่ยันพื้นจะได้ฉากเป็นรูปสามเส้า เพื่อป้องกันมิให้ล้มได้ง่ายมือทั้งสองวางทอดราบไว้ที่เหนือหัวเข่าทั้งสองให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกัน วางมืออย่างสบาย ๆไม่มีอาการเกร็ง
วิธีการนั่งคุกเข่าหญิง (อุบาสิกา)
       นิยมนั่งคุกเข่าราบ เหยียดหลังเท้าทั้งสองให้ราบกับพื้นไปทางด้านหลังให้ฝ่าเท้าทั้งสองแนบชิดสนิทกัน หรือให้ปลายเท้าทั้งสองทับกันเล็กน้อยก็ได้ นั่งทับ ลงบนฝ่าเท้าทั้งสองเข่าทั้งสองชิดกัน มือทั้ง สองวางทอดราบไว้ที่หัวเข่าทั้งสอง ให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดสนิทกันวางมืออย่างสบาย ๆ ไม่มีอาการเกร็ง

6. มารยาทในการไหว้
      การปฏิบัติในท่าไหว้ประกอบด้วยกิริยา 2 ส่วน คือ การประนมมือและการไหว้
      การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น
      การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล

       ระดับที่ 1  การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก


         ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว

         ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก


7. มารยาทในการกราบ
     การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์

            การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า 5 นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง 5 อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย
        สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
               - ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร
               - ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
               - จังหวะที่ 1 อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
               - จังหวะที่ 2 วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
              - จังหวะที่ 3 อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม
             การกราบจะกราบ 3 ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง


         สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้
             - ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา
             - ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก
             - จังหวะที่ 1 อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
             - จังหวะที่ 2 วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
            - จังหวะที่ 3 อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย
            การกราบจะกราบ 3 ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง


8. มารยาททางวาจา
         มารยาททางวาจาก็คือบุคลิกภาพที่ปรากฏในสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำสำเนียงต่อบุคคลทั่วไป เช่นการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดเหยียดหยามผู้อื่น การใช้ว่าคำว่ากรุณาเมื่อต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น การกล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิดพลาด การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม






ที่มา : http://wattanatipphanong.blogspot.com/
        : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2127-00/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น